

โรคเหงือก
เพื่อได้ฟันสวยพร้อมสุขภาพฟันที่ดีที่สุด
โรคเหงือก โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ
รู้จักกับโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบที่หลายคนอาจมองข้ามไป
เมื่อพูดเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดถึงปัญหาเรื่องฟันผุ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของสุขภาพช่องปากที่สร้างความกังวลให้กับหลายๆ คน โรคปริทันต์ คือ โรคที่เกี่ยวกับอวัยวะรอบฟัน ซึ่งหมายถึงเหงือกและเบ้าฟันนั่นเอง เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบๆ ตั วฟัน เช่น กระดูกเบ้าฟัน เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกวิธี อวัยวะต่างๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้าๆ และจะต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด
โรคเหงือกคืออะไร เกิดขึ้นกับเราได้อย่างไร
โรคเหงือกส่วนใหญ่เกิดจากการมีคราบจุลินทรีย์ไปยึดเกาะกับฟันปริมาณมาก โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก หากเราทำความสะอาดช่องปากไม่ดี เชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีจะเริ่มทำอันตรายกับเหงือก ทำให้ขอบเหงือกเกิดอาการอักเสบอ่อน ๆ จึงเห็นเป็นสีแดงกว่าเดิม จากนั้นคราบจุลินทรีย์จะสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ลงไปสู่ใต้ขอบเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบมากขึ้น แดงมากขึ้น และอาจทำให้เกิดหินปูน ซึ่งจะมีผลทำให้เหงือกและกระดูกรองรับฟันถูกทำลาย จะสังเกตุได้ว่าขอบเหงือกจะร่นลงไป ตัวฟันจะดูยาวมากขึ้น ฟันเริ่มโยก มีเลือดออก และมีกลิ่นปาก

หากโรคเหงือกยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่รักษา ระยะต่อจากนี้จะเรียกว่าโรคปริทันต์ หรือโรครำมะนาด ในระยะสุดท้ายนั้น เหงือกและกระดูกรองรับฟันจะถูกทำลายไปจนเกือบหมด ฟันจะโยกจนเห็นได้ชัดเลือดจะออกจากขอบเหงือกบ่อย ๆ มีหนองออกในบางครั้ง และจะต้องถอนฟันออก โดยไม่มีทางรักษาอื่น
ลักษณะอาการของโรคเหงือกอักเสบ
• เหงือกแดง บวม และเปื่อย
• อาการเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
• ฟันดูมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นลงมา
• เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นช่องว่างขึ้นมา
• เมื่อเคี้ยวอาหารแล้วฟันไม่สบฟันกันเหมือนเดิม หรือฟันโยก
• มีหนองไหลออกมาจากบริเวณฟันและเหงือก
• มีกลิ่นปาก และมีรสชาติแย่ ในปากอยู่ตลอดเวลา
• อาการเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
• ฟันดูมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นลงมา
• เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นช่องว่างขึ้นมา
• เมื่อเคี้ยวอาหารแล้วฟันไม่สบฟันกันเหมือนเดิม หรือฟันโยก
• มีหนองไหลออกมาจากบริเวณฟันและเหงือก
• มีกลิ่นปาก และมีรสชาติแย่ ในปากอยู่ตลอดเวลา

ปัญหาเหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจลุกลาม กลายเป็นปัญหาเหงือกที่กระจายไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ฐานฟันและกระดูก (เยื่อหุ้มฟันอักเสบ) ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงมากกว่า และอาจทำให้คุณสูญเสียฟันได้ นอกจากนี้ ภาวะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ และการทำความสะอาดช่องปากไม่ดี อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย ซึ่งนักวิจัยยังไม่ทราบความเกี่ยวเนื่องที่แน่ชัด แต่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่เชื่อมโยงภาวะเยื่อหุ้มฟันอักเสบเข้ากับความเสี่ยงปัญหาหัวใจล้มเหลว ภาวะเส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือปัญหาปอดที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้หญิงที่มีอาการภาวะเยื่อหุ้มฟันอักเสบมีแนวโน้มว่าอาจคลอดบุตรก่อนกำหนด หรือเด็กที่คลอดออกมามีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับหญิงที่มีเหงือกสุขภาพแข็งแรง แม้ว่าอาจยังต้องมีงานวิจัยเพื่อยืนยันเพิ่มเติม การศึกษาวิจัยเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเหงือกและฟันของคุณ
ในกรณีที่มี่เนื้อเยื่อเหงือกอักเสบ จนเสียหายมาก ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์จี้เอาเนื้อเยื่อเหงือกส่วนที่อักเสบออกไป เหมือนกับที่คลินิกความงามใช้เลเซอร์จี้ไฝของเราออกจากใบหน้านั่นเอง
หลังจากที่เนื้อเยื่อถูกจี้ออกไปแล้ว และเข้าดูแลลึกถึงซอกเหงือก จนเห็นรากฟัน ขั้นตอนหลังจากนั้น ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษในการทำความสะอาดเนื้อเยื่อเหงือกใต้ฟัน ขูดเอาคราบสกปรกต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ รากฟันทิ้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระยะยาว
หลังจากที่เนื้อเยื่อถูกจี้ออกไปแล้ว และเข้าดูแลลึกถึงซอกเหงือก จนเห็นรากฟัน ขั้นตอนหลังจากนั้น ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษในการทำความสะอาดเนื้อเยื่อเหงือกใต้ฟัน ขูดเอาคราบสกปรกต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ รากฟันทิ้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระยะยาว
โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 เหงือกอักเสบ มีลักษณะบวม แดง มักพบมีเลือดออกบริเวณคอฟัน ในบางรายโรคอาจลุกลาม โดยพบว่ามีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน และกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ
ระยะที่ 2 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะต้น ระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ไม่เกิน 1 ใน 3 ซี่ฟัน
ระยะที่ 3 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะกลาง เป็นระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน จาก 2 ใน 3 ของซี่ฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก
ระยะที่ 4 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะปลาย ระยะที่การทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ทั้งซี่ฟันจนถึงปลายรากทำให้เกิดฝีปลายรากมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้เหงือกร่น และอาจต้องถอนฟัน
ระยะที่ 5 ระยะสุดท้าย เนื่องจากมีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากจนเกือบถึงปลายรากฟัน จะพบว่าโยกมาก เพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ซึ่งในขั้นนี้แพทย์จะทำการถอนฟันซี่นั้นออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่อื่น ๆ
การรักษาโรคปริทันต์นั่น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและจะเริ่มต้นรักษาอย่างจริงจังในรายที่ผู้ป่วยมีอาการหนักถึงขั้นมีการละลายของกระดูกแล้ว ซึ่งก็คือฟันผุแล้วนั่นเอง ซึ่งแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 2 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะต้น ระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ไม่เกิน 1 ใน 3 ซี่ฟัน
ระยะที่ 3 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะกลาง เป็นระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน จาก 2 ใน 3 ของซี่ฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก
ระยะที่ 4 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะปลาย ระยะที่การทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ทั้งซี่ฟันจนถึงปลายรากทำให้เกิดฝีปลายรากมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้เหงือกร่น และอาจต้องถอนฟัน
ระยะที่ 5 ระยะสุดท้าย เนื่องจากมีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากจนเกือบถึงปลายรากฟัน จะพบว่าโยกมาก เพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ซึ่งในขั้นนี้แพทย์จะทำการถอนฟันซี่นั้นออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่อื่น ๆ
การรักษาโรคปริทันต์นั่น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและจะเริ่มต้นรักษาอย่างจริงจังในรายที่ผู้ป่วยมีอาการหนักถึงขั้นมีการละลายของกระดูกแล้ว ซึ่งก็คือฟันผุแล้วนั่นเอง ซึ่งแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะควบคุมโรค
ผู้ป่วยพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาในการรักษาหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับอาการของโรคปริทันต์ของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ร่องลึกปริทันต์ และปริมาณหินน้ำลายใต้เหงือก
2. ระยะแก้ไข
กรณีผู้ป่วยในระดับรุนแรงที่มีปริมาณคราบหินปูนใต้เหงือกเป็นจำนวนมาก ทันตแพทย์ไม่สามารถกำจัดได้หมด จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัดเหงือกในบริเวณดังกล่าวด้วย บางกรณีที่เหมาะสมทันตแพทย์อาจจะทำศัลยกรรมปลูกกระดูกทดแทนด้วย
3. ระยะคงสภาพ
คือ ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยต้องหมั่นดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นประจำด้วยการทำความสะอาดภายในช่องปากอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ รวมทั้งพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
วิธีการดูแลช่องปากที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ

โรคปริทันต์คือโรคที่เกี่ยวข้องการความสะอาดภายในช่องปาก วิธีการป้องกันโรคดังกล่าวได้ดีที่สุด คือ ลดการสะสมของจุลินทรีย์ และทำลายที่อยู่ของเชื้อแบคทีเรีย ภายในช่องปาก ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร รวมกับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ลดการรับทานขนมหวาน งดสูบบุหรี่ การใช้ไหมขัดฟัน การพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก และทำความสะอาดฟันในบริเวณที่เราไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง และรับการรักษาระยะเริ่มแรกก่อนที่เราจะต้องสูญเสียฟันของเราไปเนื่องจากโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ เพียงเท่านี้เราก็จะมีสุขภาพฟันและเหงือกที่ดีตลอดไป
การทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสม และแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษาเกลารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย