

ศัลยกรรมช่องปาก
เพื่อได้ฟันสวยพร้อมสุขภาพฟันที่ดีที่สุด
ศัลยกรรมช่องปากมีอะไรบ้าง
โดยการงานศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย :
1. การผ่าฟันคุด (Impacted tooth surgery) หรือฟันฝัง (Embedded tooth surgery)
2. การถอนฟัน
3. การผ่าตัดเพื่อปลูกกระดูก (Bone graft surgery)
4. การผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียม (Implant surgery)
5. การผ่าตัดเหงือกก่อนเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ (Pre-prosthetic surgery) เช่นการตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวฟัน (Crown-lengthening)
6. การทำศัลยกรรมก่อนเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ (Pre-prosthetic surgery) เช่น การตัดปุ่มกระดูก (Torectomy)
8. การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic surgery)
9. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร (Surgical correction of jaw excess/deficiency)
10. การปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (Mandibular setback/advancement)
11. การจัดการกับรูปหน้าที่ผิดปกติ (Management of facial deformities)

การผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด
ฟันกรามซี่ในสุดหรือที่เรียกกันว่าฟันคุดนั้น เป็นฟันกรามแท้ชุดสุดท้ายที่จะออกมาตอนช่วงอายุระหว่าง 18 ถึง 20 ปี ซึ่งในความเป็นจริงฟันกรามชุดนี้ก็มิได้มีความแตกต่างจากฟันซี่อื่นๆเลย มีความสามารถในการบดเคี้ยวเท่าเทียมกับฟันกรามซี่อื่นๆ เพียงแต่น้อยคนนักที่มีฟันกรามขึ้นมาตามปกติพร้อมกับมีตำแหน่ง ลักษณะการขึ้นที่เหมาะสมและมีเหงือกโดยรอบที่มีสุขภาพดี เมื่อไรก็ตามที่ฟันกรามซี่ในสุดมีอุปสรรคในการ ขึ้น อาจเนื่องจากลักษณะการงอกออกมา หรืออะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นฟันคุด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการเอ๊กซเรย์ดูลักษณะและตำแหน่งการวางตัวของฟันและ วิเคราะห์ถึงความผิดปกติ ก่อนทำการหาวิธีการแก้ไข เนื่องจากฟันคุดเป็นสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก การติดเชื้อ โรคเหงือก การเป็นฝีในช่องปาก หรือ ส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียงสามารถผุได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
ดังนั้นทันตแพทย์โดยส่วนใหญ่จะแก้ปัญหานี้โดยการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุดออกไป ในบางรายที่ถึงแม้ฟันกรามซี่ในสุดจะสามารถขึ้นมา ได้อย่างปกติก็ตามทันตแพทย์ก็ยังอาจแนะนำให้ทำการถอนออกไป ถ้าเล็งเห็นว่าฟันซี่นั้นไม่มีประโยชน์ อาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยวและฟันซี่ข้างเคียง หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเหงือกหรือการอักเสบบริเวณ นั้นได้ เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณด้านในสุดของช่องปากนั้นมีความยาก ลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันกรามซี่หลังนั้นสามารถผุได้ง่าย รวมถึงการอักเสบของเหงือกอีกด้วย อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะพิจารณาอาการและปัญหาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาที่แตก ต่างกันไปของผู้เข้ารับบริการแต่ละบุคคล
การถอนฟัน
เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องทำการถอนฟันคือ:
- มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
- มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง ( gum disease)
- ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่น ปัญหาฟันคุด เพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน

การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน
การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร ( Orthognatic Surgery) คือ การผ่าตัดเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ปกติ รวมถึงการแก้ปัญหาการสบฟันให้มีความถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากในบางกรณีความผิดปกติของขนาด รูปร่างหรือตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถส่งผลกระทบทำ ให้การสบฟันและการบดเคี้ยวผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติของรูปหน้าอีกด้วย
การวางแผนการรักษาล่วงหน้า เป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จนอก เหนือจากขั้นตอนการรักษาและผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย โดยพิจารณาจากรูปภาพ แบบจำลองฟันและผลเอ๊กซเรย์
สำหรับกรณีที่ผู้เข้ารับบริการมีคางที่ยื่นผิดปกตินั้น บางครั้งการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรอาจมีความจำเป็นเพื่อ ช่วยปรับตำแหน่งให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง รวมไปถึงสามารถช่วยแก้ไขโครงหน้าให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยศัลยแพทย์จะทำการเลื่อนขากรรไกรล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งในการรักษาอาจทำร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกขากรรไกร หรือการปรับแต่งกระดูกคางในบางกรณี
การปลูกถ่ายกระดูก
การปลูกถ่ายกระดูกเป็นวิธีการทางทันตกรรมที่มี สำคัญอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาทางทันตกรรมที่เกิดจากการมี ปริมาณของกระดูกขากรรไกรที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอ เช่น ในกรณีของการปลูกรากฟันเทียมไททาเนียม หรือ ปัญหาการมีรูปหน้าที่ผิดปกติ เป็นต้น
ปัจจุบันการปลูกถ่ายกระดูกได้มีความสำคัญมากขึ้น จนเกือบจะรวมอยู่ในขั้นตอนการเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการปลูกรากฟันเทียม เนื่องจากผู้เข้ารับบริการปลูกรากฟันเทียมไททาเนียมมักจะมีปริมาณกระดูก บริเวณขากรรไกรที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับรากฟันเทียม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสลายตัวของกระดูกรองรับฟันหลังจากที่ต้องสูญเสีย ฟันบริเวณนั้นไป
ในบางกรณีการเสื่อมสลายตัวของกระดูกขากรรไกรสามารถส่งผลกระทบต่อโครงหน้าของ บุคคลนั้นอีกด้วย ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาของปริมาณกระดูกเพื่อการปลูกรากฟันเทียมไททาเนียม นั้นอาจเป็นเรื่องที่ยาก แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาทำให้การปลูกถ่ายกระดูกสามารถ ทำได้ด้วยขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้ได้ขนาดและปริมาณตามที่ต้องการ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับรากฟันเทียมไททาเนียมมากยิ่งขึ้น