

ฟันปลอม
เพื่อได้ฟันสวยพร้อมสุขภาพฟันที่ดีที่สุด
ฟันปลอมมีกี่แบบ ข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง
ฟันปลอม มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ฟันปลอมติดเเน่น ฟันปลอมถอดได้ ฟันปลอมเเบบนิ่ม สะพานฟัน รากเทียม มาดูกันว่าฟันปลอมแต่ละแบบต่างกันอย่างไร เเล้วแบบไหนที่เหมาะกับคุณ ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจากแคร์ เดนทัล คลินิกได้ คุณหมอยินดีให้คำแนะนำค่ะ

ฟันปลอม คือ อะไร (DENTURE)
ฟันปลอม คือ ฟันที่ทำขึ้นโดยทันตแพทย์ใส่ให้กับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเนื่องจากการถอนในการรักษาฟันผุ ฟันโยกจากอาการเหงือกอักเสบ เคสอื่นๆ เช่น ฟันหัก ฟันแตกก็สามารถใส่ฟันปลอมร่วมได้
การใส่ฟันปลอมแทนที่ฟันที่หายไปจะช่วยแก้ปัญหา การรับประทานอาหารได้ง่าย มีประสิทธิภาพ พูดคุยออกเสียงได้ชัดเสริมสร้างความมั่นใจ ฟันปลอมยังช่วยคอยพยุงแก้มและริมฝีปากไม่ให้ดูหย่อนคล้อยอีกด้วย
ถ้าไม่ใส่ฟันปลอม มีผลอย่างไร
กรณีที่คนไข้ สูญเสียฟัน หรือ ได้รับการถอดฟันเเล้วปล่อยให้มีช่องว่างระหว่างฟัน จะมีผลดังนี้
- ฟันค้างเคียงของซี่ที่ถูกถอนไปล้มหรือเอียงเข้าเข้ามาบริเวณช่องว่าง
- มีผลต่อฟันคู่สบที่ไม่ตรงกัน เกิดการกระเเทกขณะเคี้ยวอาหาร- ปัญหาการเคี้ยวอาหารข้างเดียว
- มีเศษอาหารติดที่ซอกฟันได้ง่าย เกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบตามมาได้

ฟันปลอมมีกี่แบบ
ฟันปลอมแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ฟันปลอมเเบบถอดได้ เเละ ฟันปลอมแบบติดแน่น
ฟันปลอมแบบถอดได้
ฟันปลอมชนิดถอดได้ คือ ฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติหลงเหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วน ถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ แบบถอดได้แบ่งได้ดังนี้ ฟันปลอมโครงโลหะ, ฟันปลอมฐานพลาสติก ฯลฯ
ฟันปลอมแบบติดแน่น
ฟันปลอมแบบติดแน่น ถือว่าเป็น ฟันปลอมถาวร ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ ฟันปลอมชนิดนี้คนไข้ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้
ฟันปลอมทำจากอะไร
ฟันปลอมเเบบถอดได้ (Temmporary plate) ตัวฐานมีทั้งเเบบที่ทำจากพลาสติกหรืออะครีลิก เเละฐานเเบบโลหะ
- แบบฐานพลาสติก มีการใช้เบื้องต้นในคนไข้ที่ยังไม่เคยใส่ฟันปลอม เพื่อเป็นช่วงระยะเวลาในการปรับตัวว่าใช้งานได้ถนัดหรือไม่
- เเบบโลหะจะบางเเละเเนบกับเหงือกได้มากกว่า คนไข้รู้สึกรำคาญน้อยกว่าเเบบฐานพลาสติกเเละมีความทนทานมากกว่า
ฟันปลอมเเบบติดเเน่น (FIXED DENTURE)
- แบบโลหะทั้งซี่ เหมาะกับใช้ในฟันตำแหน่งบดเคี้ยว
- แบบพลาสติกทั้งซี่ เหมาะกับการใส่ชั่วคราว ช่วงที่รอให้แผลถอนฟันหายดี
- แบบผสม เช่น เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ
ข้อดี – ข้อเสีย ของ ฟันปลอม เเต่ละประเภท
ฟันปลอมเเบบถอดได้ จุดเด่น และ จุดด้อย
ข้อดี ฟันปลอมเเบบถอดได้
- สามารถใส่ได้หลายซี่ หรือใส่ได้ทั้งปาก
- ง่ายต่อการถอดเพื่อทำความสะอาด
- ราคาถูกกว่าฟันปลอมเเบบติดเเน่น
ข้อเสีย ฟันปลอมเเบบถอดได้
- มีส่วนของเพดานปากที่ติดกับฟันปลอม อาจทำให้รู้สึกรำคาญระหว่างพูดหรือเคี้ยวอาหาร
- ยิ้มเเล้วเห็นตะขอฟันปลอมได้ง่าย
- ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวน้อยกว่าฟันปลอมเเบบติดเเน่น เพราะเเรงกดจากการเคี้ยวจะลงที่เหงือก
ขั้นตอนทำฟันปลอม
1. ทันตแพทย์เริ่มต้นซักถามประวัติจากคนไข้ เริ่มการตรวจช่องปาก ถ่ายรูป X-ray พิมพ์แบบจำลองช่องปากของคนไข้
2. ทันตแพทย์ตรวจการเรียงตัวของฟัน เลือกสีฟันที่ใกล้เคียงกับฟันเดิม เเละสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลองนั้น เพื่อให้ได้รูปฟันที่สวยงาม ขนาดพอดีใส่ในช่องปากของคนไข้ มีการสบฟันที่ถูกต้อง
3. ทันตแพทย์ใส่ฟันปลอมเเละแก้ไขตำแหน่งกดเจ็บ ในระหว่างการทำฟันปลอม ทันตแพทย์จะนัดพบคนไข้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันปลอม หลังใส่ฟันปลอมเรียบร้อยแล้ว ก็อาจต้องกลับไปพบทันตแพทย์ในช่วงเดือนแรก เพื่อปรับหรือตกแต่งฟันปลอมเพิ่มเติมให้พอดีกับช่องปาก
การดูแลฟันปลอม
การดูเเลรักษาฟันปลอมเน้นการดูเเลความสะอาดเเละการถนอมการใช้งานฟันปลอมให้คุ้มค่า

ดูเเลฟันปลอมเเบบถอดได้
- ไม่ควร รับประทานอาหาร ที่มีความเหนียวเเข็ง เพราะทำให้ฟันปลอมทำงานหนัก เเละ อาจหลุดออกมาขณะเคี้ยวได้
- ระวังอย่าทำฟันปลอมหล่น เพราะพลาสติดที่เป็นส่วนประกอบของฟันปลอมอาจแตกหักเสียหาย
- หลังมื้ออาหารถอดฟันปลอมออกล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มๆ ที่ทำความสะอาดฟันปัดทำเศษอาหารออกจากฟันปลอม
- ไม่ใช้ยาสีฟันทำความสะอาดฟันปลอม เพราะสารขัดฟันในยาสีฟันจะทำให้ตัวฟันปลอมสึกได้
- แนะนำให้ใช้เม็ดฟู่เเช่ฟัน เพื่อทำความสะอาดฟันปลอมเเละกำจัดเชื้อโรคที่ซ่อนอยู่ อาทิตย์ละครั้ง
- ก่อนนอนควรถอดแช่น้ำ เพื่อคงรูปร่างของฟันปลอมไว้ การเก็บฟันปลอมในที่เเห้งจะทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยว เเละไม่สามารถใส่ฟันได้สนิทกับเหงือกเหมือนเดิม
ดูเเลฟันปลอมเเบบติดเเน่น
- ดูเเลรักษาเหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟัน เหงือก ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน
- เเนะนำให้ทำความสะอาดใต้ฟันปลอมด้วยเครื่องมือร้อยไหมขัดฟัน (Floss threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน
- เข้ารับการตรวจเช็คจากทันตแพทย์ตามนัด