

ตัดแต่งเหงือก
เพื่อได้ฟันสวยพร้อมสุขภาพฟันที่ดีที่สุด
ทำไมต้องตัดตกแต่งเหงือก มีข้อดี-ข้อเสีย อะไรบ้าง?
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเหงือกเยอะ เหงือกหนา เหงือกปูดไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่มั่นใจเวลายิ้มเห็นฟัน หรือส่งผลทำให้มีปัญหาเรื่องการพูดในชีวิตประจำวัน การผ่าตัดเหงือกเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้กลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่ามันคืออะไร ช่วยดูแลปัญหาสุขภาพปากและฟันได้อย่างไร ใครบ้างที่ควรทำ หรือค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเหงือกราคาเท่าไหร่ เจ็บไหม ถือเป็นผ่าตัดใหญ่หรือเปล่า และคำถามอื่นๆ อีกมากมาย บทความนี้จะมาอธิบายทุกเรื่อง และตอบทุกข้อสงสัยต่างๆ เหล่านั้นให้

ทำไมถึงต้องตัดเหงือก ทำแล้วช่วยเรื่องสุขภาพช่องปากและฟันอย่างไร
ทำไมจึงต้องผ่าตัดเหงือก? ผ่าเหงือกแล้วช่วยเรื่องอะไรบ้าง? การผ่าเหงือกนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องเหงือก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเหงือกเยอะเกินไป เหงือกหนาเกินไป เหงือกงอกมาคลุมฟัน เหงือกล้น หรือกระดูกขอบเหงือกปูด โดยสามารถแบ่งความจำเป็น หรือความต้องการในการผ่าเหงือก ออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
ด้านการรักษาช่องปากและฟัน
ทำไมจึงต้องผ่าตัดเหงือก? ผ่าเหงือกแล้วช่วยเรื่องอะไรบ้าง? การผ่าเหงือกนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องเหงือก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเหงือกเยอะเกินไป เหงือกหนาเกินไป เหงือกงอกมาคลุมฟัน เหงือกล้น หรือกระดูกขอบเหงือกปูด โดยสามารถแบ่งความจำเป็น หรือความต้องการในการผ่าเหงือก ออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

ด้านการศัลยกรรมเพื่อความงาม
เป็นทำการศัลยกรรมเหงือกเพื่อความสวยงาม และสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถยิ้มเห็นฟันได้อย่างมีความสุข
• แก้ปัญหาเหงือกหนา เหงือกยื่นออกมาเยอะเกินจนฟันดูสั้น หรือเหงือกไม่สมมาตร การตัดเหงือกจะช่วยให้ฟันดูยาวขึ้นได้ เหงือกเรียงเสมอกัน ฟันเรียงสวยตามธรรมชาติเวลายิ้ม
• มักทำคู่กับการทำปากกระจับ หรือทำปากบาง เพื่อให้ปากและฟันดูเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งวิธีการผ่าเหงือกลักษณะนี้ มักทำร่วมกับการทำวีเนียร์ หรือ การกรอกระดูกฟัน และการครอบฟัน
ซึ่งวิธีการผ่าเหงือกลักษณะนี้ มักทำร่วมกับการทำวีเนียร์ หรือ การกรอกระดูกฟัน และการครอบฟัน
• แก้ปัญหาเหงือกหนา เหงือกยื่นออกมาเยอะเกินจนฟันดูสั้น หรือเหงือกไม่สมมาตร การตัดเหงือกจะช่วยให้ฟันดูยาวขึ้นได้ เหงือกเรียงเสมอกัน ฟันเรียงสวยตามธรรมชาติเวลายิ้ม
• มักทำคู่กับการทำปากกระจับ หรือทำปากบาง เพื่อให้ปากและฟันดูเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งวิธีการผ่าเหงือกลักษณะนี้ มักทำร่วมกับการทำวีเนียร์ หรือ การกรอกระดูกฟัน และการครอบฟัน
ซึ่งวิธีการผ่าเหงือกลักษณะนี้ มักทำร่วมกับการทำวีเนียร์ หรือ การกรอกระดูกฟัน และการครอบฟัน
ประเภทของการตัดเหงือก
ปัจจุบัน มี 2 รูปแบบที่นิยมใช้ คือ การผ่าตัดขอบเหงือก และการเลเซอร์ตัดเหงือก

การผ่าตัดขอบเหงือก
การผ่าตัดขอบเหงือก เป็นการผ่าตัดด้วยใบมีด ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยใช้วิธีการตัดแต่งตามจุดที่ออกแบบเอาไว้ เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะต้องเย็บเพื่อปิดปากแผล วิธีนี้ต้องใช้ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และใช้เวลาพักฟื้นตัวนานกว่าวิธีเลเซอร์
การเลเซอร์ตัดเหงือก
การเลเซอร์ตัดเหงือกนั้น ทันตแพทย์จะเป็นผู้ออกแบบทรงเหงือก และใช้เลเซอร์ในการตัดส่วนเหงือกเฉพาะที่ ตัวแผลจะมีขนาดเล็ก มีเลือดออกน้อยกว่าวิธีใช้ใบมีด ไม่ต้องเย็บแผล โดยใช้เวลาตัดเพียงซี่ละ 1-2 นาทีเท่านั้น และสามารถพักฟื้นตัวได้รวดเร็ว ไม่ต้องหยุดงาน ทำให้วิธีเลเซอร์ได้รับความนิยมมากกว่าแบบใบมีดนั่นเอง
การตัดเหงือกนั้นมักทำร่วมกับการกรอกระดูกฟัน บางครั้งเรียกว่า “ตัดเหงือกกรอกระดูกฟัน” โดยการกรอกระดูกฟันเป็นการกรอขอบกระดูกบางส่วนที่อาจนูนมามากเกินควร หรือสูงเกินไป ให้บางลง รองรับกับเหงือกส่วนที่ผ่าตัดถือเป็นการรักษาที่ให้ผลยาวนานถาวร เพราะเหงือกจะไม่งอกกลับมาใหม่ ขณะที่หากไม่ได้กรอกระดูกฟันร่วมด้วย เหงือกที่ตัดไปก็จะยังมีโอกาสงอกกลับมาใหม่นั่นเอง
การตัดเหงือกนั้นมักทำร่วมกับการกรอกระดูกฟัน บางครั้งเรียกว่า “ตัดเหงือกกรอกระดูกฟัน” โดยการกรอกระดูกฟันเป็นการกรอขอบกระดูกบางส่วนที่อาจนูนมามากเกินควร หรือสูงเกินไป ให้บางลง รองรับกับเหงือกส่วนที่ผ่าตัดถือเป็นการรักษาที่ให้ผลยาวนานถาวร เพราะเหงือกจะไม่งอกกลับมาใหม่ ขณะที่หากไม่ได้กรอกระดูกฟันร่วมด้วย เหงือกที่ตัดไปก็จะยังมีโอกาสงอกกลับมาใหม่นั่นเอง
เหมาะฟอกที่บ้านหรือฟอกที่คลินิก
ถึงจะสามารถทำเองได้ แต่ก็แนะนำให้ทำกับคลินิก ที่มีการดูแลโดยทันตแพทย์ เพื่อให้การฟอกฟันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในการทำครั้งเดียว
ขั้นตอนการผ่าตัดเหงือก
หลายคนเห็นคำว่าผ่าตัดอาจรู้สึกกังวลว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือไม่ น่ากลัวหรือเปล่า ขอบอกว่าในปัจจุบันการผ่าเหงือกทำกันอย่างแพร่หลาย และวิธีก็ไม่ได้น่ากลัวแต่อย่างใด ลองมาดูขั้นตอนการผ่าคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดังนี้
1.ทันตแพทย์วินิจฉัยอาการเบื้องต้น
2.ฉีดยาชาเฉพาะที่ และรอยาชาออกฤทธิ์ประมาณ 20 – 40 นาที
3.กำหนดจุดที่จะตัดเหงือก
4.เมื่อยาชาออกฤทธิ์ จะเริ่มทำการผ่าตัดตามแต่ละวิธีที่เลือกใช้ เช่น ใบมีด หรือเครื่องเลเซอร์ เพื่อตัดเหงือกส่วนเกินออก
5.เย็บปิดปากแผลหลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว
6.เสร็จสิ้นขั้นตอน โดยปกติจะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ทั้งนี้ มีข้อควรระวังคือในการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาชา ดังนั้น หากใครแพ้ยาชาจะต้องแจ้งกับทันตแพทย์ก่อนเสมอ
1.ทันตแพทย์วินิจฉัยอาการเบื้องต้น
2.ฉีดยาชาเฉพาะที่ และรอยาชาออกฤทธิ์ประมาณ 20 – 40 นาที
3.กำหนดจุดที่จะตัดเหงือก
4.เมื่อยาชาออกฤทธิ์ จะเริ่มทำการผ่าตัดตามแต่ละวิธีที่เลือกใช้ เช่น ใบมีด หรือเครื่องเลเซอร์ เพื่อตัดเหงือกส่วนเกินออก
5.เย็บปิดปากแผลหลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว
6.เสร็จสิ้นขั้นตอน โดยปกติจะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ทั้งนี้ มีข้อควรระวังคือในการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาชา ดังนั้น หากใครแพ้ยาชาจะต้องแจ้งกับทันตแพทย์ก่อนเสมอ
เตรียมความพร้อมก่อนตัดเหงือก
การเตรียมความพร้อมก่อนตัดเหงือก มีอะไรบ้าง?
• ตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียด
• หากมีหินปูนเกาะบริเวณฟัน ควรให้แพทย์จะขูดหินปูนก่อน โดยการขูดหินปูนควรทำก่อนการตัดเหงือกอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• เอกซเรย์ฟันเพื่อประเมินระดับกระดูก
• เข้ารับการประเมินก่อนการผ่าตัดกับทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา และเลือกวิธีการตัดเหงือกที่เหมาะสมกับตนเอง ตามคำแนะนำของแพทย์
• ตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียด
• หากมีหินปูนเกาะบริเวณฟัน ควรให้แพทย์จะขูดหินปูนก่อน โดยการขูดหินปูนควรทำก่อนการตัดเหงือกอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• เอกซเรย์ฟันเพื่อประเมินระดับกระดูก
• เข้ารับการประเมินก่อนการผ่าตัดกับทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา และเลือกวิธีการตัดเหงือกที่เหมาะสมกับตนเอง ตามคำแนะนำของแพทย์
วิธีดูแลตัวเองหลังตัดเหงือก
ปกติแล้วแผลหลังตัดเหงือกจะใช้เวลาหายสนิทประมาณ 2-4 อาทิตย์ โดยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อให้แผลฟื้นตัวได้รวดเร็ว
• ในช่วงแรกของการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ให้ทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊กแทน
• สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ให้แปรงเบาๆ บริเวณที่ใกล้กับแผลผ่าตัด หรือใช้คอตตอนบัตชุบน้ำเช็ดบริเวณแผลผ่าตัด
• รับประทานยาที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการดื้อยา
• หากมีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด สามารถรับประทานยาแก้ปวดจำพวกพาราเซตามอลได้เพื่อบรรเทาอาการปวด
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน หรือของหมักดอง เพื่อป้องกันแผลอักเสบ
• งดสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• หากดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ ก็อาจเสี่ยงเกิดอาการเกิดอาการติดเชื้อส่งผลให้เหงือกอักเสบด้วย
• ในช่วงแรกของการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ให้ทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊กแทน
• สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ให้แปรงเบาๆ บริเวณที่ใกล้กับแผลผ่าตัด หรือใช้คอตตอนบัตชุบน้ำเช็ดบริเวณแผลผ่าตัด
• รับประทานยาที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการดื้อยา
• หากมีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด สามารถรับประทานยาแก้ปวดจำพวกพาราเซตามอลได้เพื่อบรรเทาอาการปวด
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน หรือของหมักดอง เพื่อป้องกันแผลอักเสบ
• งดสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• หากดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ ก็อาจเสี่ยงเกิดอาการเกิดอาการติดเชื้อส่งผลให้เหงือกอักเสบด้วย